Admin MOC
29 Aug 2022

อัพเดท "ภาษีที่ดิน" ชวนสำรวจ 50 ไม้ผล ปลูกบนที่ดินรกร้างอย่างไร ให้ปลอดภาษี

การเก็บ "ภาษีที่ดิน" แบบ 100% เริ่มต้นแล้ว สำหรับผู้ถือครอง “ที่ดินรกร้างว่างเปล่า” ต้องเตรียมตัวเสียภาษี อัตราภาษีสูงถึง 0.3-0.7% แต่สามารถนำที่ดินรกร้างมาทำการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพื่อช่วยลดภาระภาษีที่ดินให้เหลือ 0.01-0.1% ได้ ตามเงื่อนไขดังนี้



จากก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลได้ลดหย่อนการจัดเก็บ "ภาษีที่ดิน" ลง 90% เหลือจัดเก็บเพียง 10% เพื่อช่วยลดภาระของผู้เสียภาษี ทว่าปัจจุบันเจ้าของที่ดินทุกคนจะต้องกลับมาเสียภาษีที่ดินเต็ม 100% กันแล้ว


ที่ดินแต่ละประเภทจะเสียภาษีตามลักษณะการใช้ประโยชน์ต่างกัน ดังนี้



  1. เกษตรกรรม อัตราภาษีปัจจุบัน ตั้งแต่ 0.01-0.1%

  2. ที่อยู่อาศัย อัตราภาษีปัจจุบัน ตั้งแต่ 0.02-0.1%

  3. พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม อัตราภาษีปัจจุบัน ตั้งแต่ 0.3-0.7%

  4. ที่ดินรกร้างว่างเปล่า อัตราภาษีปัจจุบัน ตั้งแต่ 0.3-0.7%


ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า “ที่ดินรกร้างว่างเปล่า” อัตราภาษีสูงถึง 0.3-0.7% ซึ่งถ้าหากไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ ไม่มีรายได้จากที่ดินรกร้างเหล่านี้ เมื่อถูกจัดเก็บเต็ม 100% ถือว่าสูงมาก จนส่งผลให้เจ้าของที่ดินเริ่มตื่นตัวและนำที่ดินรกร้างมาทำการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพื่อช่วยลดภาระภาษีที่ดินให้เหลือ 0.01-0.1% แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ตั้งแต่พืชที่ปลูกและจำนวนปลูกต่อไร่ ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้




แบบไหนเรียกที่ดินรกร้าง เตรียมเสียภาษี 0.3-0.7%


ที่ดินรกร้าง หรือ พื้นที่รกร้าง คือที่ดินที่ไม่นำมาทำประโยชน์ หรือปล่อยทิ้งรกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์ในปีก่อนปีภาษี จะต้องเสียภาษีที่ดินรกร้างในอัตราภาษี 0.3-0.7% ซึ่งแบ่งตามมูลค่าทรัพย์สินดังนี้



  • ที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.3%

  • ที่ดินมูลค่าเกิน 50-200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.4%

  • ที่ดินมูลค่าเกิน 200-1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.5%

  • ที่ดินมูลค่าเกิน 1,000-5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.6%

  • ที่ดินมูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.7%


และหากปล่อยรกร้างเป็นเวลานานติดต่อกัน 3 ปี จะปรับอัตราภาษีที่ดินรกร้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีก 0.3% ทุก 3 ปี แต่สูงสุดไม่เกิน 3% โดยยกเว้นที่ดินซึ่งมีกฎหมายห้ามให้ทิ้งไว้เพื่อการเกษตร หรือปล่อยไว้เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงการ




ปรับที่ดินรกร้างเป็นพื้นที่เพื่อเกษตรกรรมอย่างไร... ให้เสียภาษีที่ดินลดลง


เนื่องจากที่ดินรกร้างจะต้องเสียภาษีสูงกว่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม แต่ถ้าหากนำที่ดินรกร้างมาปลูกพืชผลทางการเกษตร จะนับว่าเป็นที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และเสียภาษีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ โดยต้องใช้ปลูกพืชผลทางการเกษตรและพันธุ์พืชตามที่กฎหมายกำหนด หากเข้าเกณฑ์กำหนดก็จะเสียภาษีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแทนภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่า


ทั้งนี้ สามารถจำแนกที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็น 3 ประเภท เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกับที่ดินรกร้างชัดเจนยิ่งขึ้นดังนี้


1.ที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเพาะปลูก


2.ด้านการเลี้ยงสัตว์


3.การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หรือทำการประมง


โดยที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นที่ดินสำหรับการทำนา ไร่ สวน เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด มีกำหนดเพดานภาษีสูงสุดอยู่ที่ 0.15% ดังรายละเอียดต่อไปนี้



  • ที่ดินมูลค่า 0 - 75 ล้านบาท อัตราภาษี 0.01% (ล้านละ 100 บาท)

  • ที่ดินมูลค่า 75 - 100 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (ล้านละ 300 บาท)

  • ที่ดินมูลค่า 100 - 500 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (ล้านละ 500 บาท)

  • ที่ดินมูลค่า 500 - 1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.07% (ล้านละ 700 บาท)

  • ที่ดินมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป อัตราภาษี 0.1% (ล้านละ 1,000 บาท)


ทว่าหากเจ้าของที่ดินเป็นบุคคลธรรมดา จะได้รับการยกเว้น 50 ล้านบาทแรก หากมีส่วนเกินจึงค่อยนำมาคิดภาษี เช่น มูลค่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 65 ล้านบาท จะได้รับยกเว้น 50 ล้านบาท และนำเพียง 15 ล้านบาทมาคำนวณภาษีเท่านั้น


50 ไม้ผลยืนต้น และอัตราการปลูกต่อที่ดินรกร้าง 1 ไร่


อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า การนำที่ดินรกร้างมาประกอบการเกษตรที่เป็นการทำไร่ ปลูกผัก ไม้ผลยืนต้น การปลูกสวนป่า การปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนผสม หรือการปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสม จะต้องปลูกชนิดพืชและจำนวนขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด จึงจะถือว่าไม่เป็นที่ดินรกร้าง และเป็นการใช้ประโยชน์ในการประกอบการเกษตรกรรมอย่างถูกต้อง


ดังเช่นเกณฑ์การปลูกไม้ผลยืนต้นแต่ละชนิด จะต้องมีผลผลิตจำนวนเท่าใดต่อหนึ่งไร่ สามารถสรุปได้ดังนี้


ทั้งนี้ หากไม้ผลไม้ยืนต้นที่ปลูกในพื้นที่รกร้าง ไม่มีตามที่กล่าวมานี้ เจ้าของที่ดินสามารถเทียบเคียงการประกอบการเกษตรต่อไร่จากชนิดพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงที่สุดได้


แต่ถ้าหากไม่สามารถเทียบเคียงจากชนิดพืชที่มีลักษณะใกล้เคียงตามชนิดพืชดังที่กล่าวไปแล้วได้ ให้พิจารณาตามลักษณะการประกอบการเกษตรในแต่ละท้องถิ่น


ดังนั้น ใครที่มีที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด ถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำพื้นที่ดังกล่าวมาทำการเกษตร ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพื่อช่วยลดภาระภาษีที่ดินให้เหลือ 0.01-0.1% และยังช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว อากาศบริสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับประเทศของเราอีกด้วย


-----------------------------------



 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ หากคุณยังคงใช้ไซต์นี้ต่อไปหมายความว่าคุณยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขและนโยบายความเป็นส่วนตัว.